ตรุษจีน : เทศกาลของคนจีนทั่วโลก

ประเพณีตรุษจีน ซึ่งตรงกับเดือน 1 ของจีน เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ชาวจีน ซึ่งในอดีตชาวจีนหยุดงานเฉลิมฉลอง กันตั้งแต่วัน 1 คำ่ เดือน 1 จนถึง 15 คำ่ เดือน 1 (ตามปฏิทินจีน) เป็นเวลา 15 วัน เพื่อจัดเตรียมสิ่งของ และเยี่ยมเยียนญาติ เนื่องจากสังคมในอดีต มีการพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ต้องแข่งขันหรือเร่งรีบทำมาหากิน อีกทั้งจำนวนประชากรมีไม่มากนัก ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตยังคงมีเพียงพอ และถือว่าเป็นช่วงแห่งความเป็นสิริมงคล และถือประเพณีตรุษจีนเป็นวันหยุดพักผ่อนแห่งปีด้วย ซึ่งวันงานแท้ๆ มีอยู่ 3 วัน คือ วันที่ 29, 30 ของเดือน 12 และวันที่ 1 ของเดือน 1 (ตามปฏิทินจีน) ทั้ง 3 วัน เป็นวันแห่งพิธีต้อนรับปีใหม่

วันที่ 29 ของเดือน 12 (ตามปฏิทินจีน) ปี 2563 ตรงกับวันที่ 23 มกราคม เรียกว่าวันจ่าย คือวันแห่งการซื้อของ จัดเตรียมสิ่งของ เพื่อให้ได้ของสด ใหม่ ไม่ค้างคืน เพื่อนำมาเตรียมปรุงอาหาร เพื่อใช้ไหว้ในวันไหว้

วันที่ 30 ของเดือน 12 (ตามปฏิทินจีน) ปี 2563 ตรงกับวันที่ 24 มกราคม เรียกว่าวันไหว้ มีการไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ตอนเช้าไหว้เทพเจ้าตอนสายไหว้บรรพรุษ ตอนบ่ายไหว้วิญญาณเร่ร่อน

เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย เทพเจ้าดวงดาวแห่ง โชคลาภ และความมั่งคั่ง
ที่มาภาพ www.nipic.com
องค์เทพสำคัญที่คนจีนมักไหว้กันในวันตรุษจีนคือ การไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยใน เทศกาลตรุษจีน จะมีการคํานวณ ฤกษ์ยาม และทิศทางท่ีเหมาะสมเป็น ทิศมงคลที่เช่ือกันว่าเป็นทิศที่เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยนั้นจะเสด็จลงมา โดยจะคํานวณ ตามการหมุนรอบของดวงดาวท่ีให้ผลท่ี แตกต่างกันในแต่ละปี ซึ่งผู้ไหว้จะต้อง จัดเตรียมโต๊ะไหว้เจ้าเพื่อทําพิธีอันเชิญ เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยมาประทับยังที่อยู่อาศัย หรือร้านค้าของตนตามเวลาและทิศทางที่คํานวณไว้ ซึ่งปีนี้ท่านจะเสด็จลงมาทางด้านทิศตะวันตก
โต๊ะไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยะ 
นอกจากหันทิศการไหว้ให้ถูกแล้ว การจัดโต๊ะก็เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญ อาทิ การจัดวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง การซื้อในจำนวนที่ถูกต้อง รวมทั้งการมีใบเทียบเชิญวางไว้บนโต๊ะไหว้อีกด้วย (ใบเทียบเชิญ หรือกระดาษสีแดงและสีเขียวท่ีเขียน ด้วยตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนสารที่ สื่อไปยังเหล่าทวยเทพ เป็นส่วนสําคัญ สิ่งหน่ึงที่จะต้องนําไปถูกจัดวางอยู่บนโต๊ะ ไหว้วันตรุษจีน เนื่องกระดาษดังกล่าวนี้ มีความหมายประหนึ่งเป็นเอกสารใบ คําร้องสําคัญ ที่จะใช้เป็นสื่อเทียบเชิญ เทพเจ้าได้เข้ามาประทับอยู่ในเคหะสถาน ร้านค้า บ้านเรือนของเราอย่างเป็น ทางการ เนื้อความเอกสารในใบเทียบเชิญ จะประกอบไปด้วย การระบุวันเวลาและปี ที่ทำการไหว้ ซึ่งแต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนกัน มีส่วนของการพรรณนาด้วย ความเคารพและศรัทธาต่อองค์เทพเจ้าแห่งโชคลาภและขอพรให้สิ่งมงคลต่างๆ ได้เกิดเป็นผลสําเร็จและอันเชิญองค์เหล่าเทพนั้นได้สถิตประทับคอยคุ้มกัน ช่วยเหลือผู้ที่มีรายชื่อระบุอยู่ในกระดาษ โดยกระดาษสีเขียวจะเป็นใบเทียบเชิญ องค์ไฉ่ซิงเอี๊ยหรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ และกระดาษสีแดงใช้เป็นใบเทียบเชิญองค์ไท้ส่วย ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองชะตาชีวิต
อ่านเพิ่มเติม ที่ วารสารย่านจีนถิ่นบางกอก

ส่วนวันที่ 1 ของเดือน 1 (ตามปฏิทินจีน) ปี 2563 ตรงกับวันที่ 25 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ชาวจีนจะไม่ทำอะไร แต่จะออกไปเยี่ยมญาติ มีกิจกรรมแจก ซองแดง(อังเปา) และส่งของกำนัล แก่กันในหมู่วงศ์ญาติ เป็นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อกันในระหว่างเครือญาติ และเพื่อนสนิทมิตรสหาย

ก่อนวันตรุษจีนภายในครอบครัว แม่บ้านและลูกๆ จะร่วมกันทำความสะอาด ตกแต่งบ้านด้วยกระดาษสีแดง ผู้เป็น พ่อแม่จะบอกเล่าความสำคัญ และความหมายให้ลูกๆ ได้ฟัง ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งความสิริมงคล มีการเขียนคำมงคลบนกระดาษแดง เป็นการช่วยให้กำลังใจว่า ความยากลำบากในปีที่ผ่านมาสิ้นสุดลงแล้ว พร้อมกับนำมาปะตามขอบประตู หน้าต่าง หรือตู้เก็บของ มีการคาดผ้าแดงที่ขอบประตู ด้านบน เรียกว่า ผ้าฉาย มีผ้าคาดโต๊ะพระที่มีลวดลายสวยงามเรียกว่า โต๊ะอุ๋ย เพื่อต้อนรับความมงคลให้แก่ตน และบ้านเรือนที่ตนอาศัย การทำความสะอาดบ้าน เพื่อเป็นการต้อนรับเทพเจ้าและสิ่งดีๆ ที่จะเข้าในปีใหม่ หากไม่ได้ปฏิบัติ สิ่งดีๆ จะไม่เข้ามา เพราะบ้านเรือนสกปรก ในช่วงวันดั่งกล่าวจะไม่มีการปฏิบัติงาน ไม่เช่นนั้นชีวิตของคนๆ นั้นจะมีแต่ความลำบาก ต้องทำงานหนักไปตลอดทั้งปี ชาวบ้านก็มีความเชื่อในเรื่องเคล็ด ในวันเที่ยว(โช้ยอิด) ของเทศกาลตรุษจีน ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงที่ไม่ทำงานได้ในวันนี้ ทุกคนก็หยุดทำงานในช่วงเวลา ดังกล่าว เนื่องจากถ้าหากปฏิบัติงานในวันนี้ เป็นตัวบ่งชี้ว่าต้องทำงานหนักไปตลอดปี และการมีบุญวาสนา ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนในวันตรุษจีน ดังคำเปรียบเทียบว่า “วันมงคลเริ่มปีใหม่วันแรกยังต้องทำงานหนักเสียแล้ว เพราะฉะนั้นก็ต้องทำงานหนักตลอดทั้งปีแน่”

การประกอบพิธีกรรมในช่วงตรุษจีน เริ่มมีการมีการปฏิบัติก่อนวัน 1 คํ่า เดือน 1 เล็กน้อย มีการส่งเทพเจ้าประจำบ้านขึ้นสวรรค์ เรียกว่า “จั๊บยี่โง้ยยี่สี่ส้างซิ๋น” โดยสมาชิกในบ้านร่วมกันทำความสะอาดบ้านก่อน พอรุ่งเช้าก็จะเตรียมสิ่งของเครื่องสักการะต่างๆ แล้วนำมาเซ่นไหว้เทพเจ้าประจำบ้าน หรือเทพเจ้าเตา เพื่อส่งขึ้นไปประชุมบนสวรรค์ ให้เทพเจ้าขึ้นไปรายงานความประพฤติของมนุษย์ต่อองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ ว่าในในรอบปีหนึ่ง โลกมนุษย์ มีใครปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอย่างไร ชาวจีนจะนำเครื่องบูชาประกอบด้วย ไก่ทั้งตัว หมู และบะหมี่ รวมทั้งขนมหวาน เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อม แล้วนำมาวางไว้ที่หน้าพระประจำบ้าน ในตอนเช้า และในวันสิ้นปี คือ วันที่ 29 หรือ 30 คํ่า เดือน 12 มีการนำเครื่องบูชามาไหว้พระอีกครั้งหนึ่ง เสร็จ แล้วนำเครื่องบูชาเหล่านั้นไปประกอบอาหารเพื่อนำมาเซ่นไหว้ วิญญาณของสหายภราดร (โฮ้เฮี่ยตี๋ หรือวิญญาณเร่ร่อน)

บริเวณภายนอกบ้านในตอนเย็น และคํ่าวันนั้นเป็นวันรวมญาติของชาวจีน มีญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง มาร่วมกันรับประทานอาหารพร้อมกัน เป็นการส่งท้ายปีเก่า ซึ่งขณะรับประทานอาหารก็พูดคุยกันแต่สิ่งดีๆ เช่น เรื่องธุรกิจ ความเป็นอยู่ของแต่ละคน พิธีกรรมการไหว้ตรุษจีนมาจากไหน ทำไมต้องทำทำแล้วเป็นอย่างไร เป็นต้น

ที่มาเนื้อหา : ชุมชนตลาดน้อย แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. (2562).  โครงการวิจัยการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดระบบการท่องเที่ยวเหมาะสมในย่านตลาดน้อย กรุงเทพฯ รหัสโครงการ RDG62M0002 (รายงานความก้าวหน้า(มกราคม-สิงหาคม).  กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและวัฒนธรรม (สกสว.).
ที่มาโต๊ะไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์. (2557).  เกร็ดความรู้ การไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยในเทศกาลตรุษจีน. ย่านจีนถิ่นบางกอก, (5), 17-19.